รู้จักสหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Cooperative Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่จัดให้ มีการ เรียนการสอนในสถานศึกษาสลับกับการไปหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถาน ประกอบการอย่างมีระบบ ด้วยความร่วมมือจากสถานประกอบการและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็น ระบบ การศึกษาที่ผสมผสานการเรียนกับการปฏิบัติงาน (Work Integrated Learning: WIL) วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา เพื่อ

 

1. เตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการพัฒนาอาชีพ (Career Development) และเสริม ทักษะและประสบการณ์ให้พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการทำงาน (Employability)
2. เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาในรูปแบบที่ มีคุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน
3. เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ บัณฑิต
4. ให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐานและตรงกับความ ต้องการของตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น
5. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาผ่านนักศึกษาสหกิจ ศึกษาและคณาจารย์นิเทศ อันจะนำไปสู่ความร่วมมืมที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ความสำคัญและประโยชน์ของสหกิจศึกษา สหกิจศึกษาทวีความสำคัญมากขึ้น มีสถาบันอุดมศึกษาในประเทศต่างๆทั้วโลกใช้สหกิจ ศึกษาเป็นแนวการจัดการศึกษาระดับปริญญากว้างขวางขึ้นในเกือบจะทุกสาขาวิชา โดยมีเป้าหมาย ประสงค์ตรงกัน คือ การเสริมคุณภาพบัฯฑิต ผ่านประสบการณ์ทำงานในสถานประกอบการเพื่อการ พัฒนาคุณภาพบัณฑิต ตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ถือเป็นส่วนสำคัญของการเตรียมบัณฑิต ให้พร้อมที่จะเลือกอาชีพและเข้าสู่ระบบการทำงานทันทีที่จบ การศึกษาทำให้บัณฑิตสหกิจศึกษา…. “รู้จักตน รู้จักคน รู้จักงาน”

ใครได้ประโยชน์จากสหกิจศึกษา  
1. นักศึกษา ได้ประสบการณ์วิชาชีพตางตามสาขาวิชาเอก มีผลการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาหลังปฏิบัติงานสหกิจศึกษาดีขึ้น เกิดการพัฒนาตนเอง มั่นใจในตนเองมากขึ้น เกิดทักษะการสื่อสารรายงานข้อมูล มีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนสำเร็จการศึกษา เลือกสายงานอาชีพได้ถูกต้อง ได้รับค่าตอบแทนขณะศึกษา เป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพและความพร้อมในการทำงานสูง
2. สถาบันอุดมศึกษา เกิดความร่วมมือทางวิชาการและความสัมพันธ์ที่ดีกับสถานประกอบการ ได้ข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน ช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน
3. สถานประกอบการ มีนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานตลอดปี พนักงานประจำมีเวลาที่จะทำงานสำคัญได้มากขึ้น ใช้เป็นวิธีคัดเลือกพนักงานได้ถูกต้องเหมาะสมยงิ่ ขึ้น มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษา เกิดภาพพจน์ที่ดีด้านการส่งเสริมการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ของสหกิจศึกษา ผลประเมินของสถาบันอุดมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา พบว่า บัณฑิตสหกิจศึกษาได้งานเร็วกว่าและมากกว่าบัณฑิตที่ไม่ได้ร่วมสหกิจศึกษา ผู้ประกอบการพอใจคุณภาพบัณฑิตสหกิจศึกษาสูงกว่าบัณฑิตที่ไม่ได้ร่วมสหกิจศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเห็นว่าผู้ที่ผ่านสหกิจศึกษามีวุฒิภาวะความรับผิดชอบและวินัยสูงขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดสหกิจศึกษา
1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จหลัก คือ สถานศึกษากับสถานประกอบการถือเป็นความรับผิดชอบ ร่วมกันในลักษณะหุ้นส่วนสหกิจศึกษา (Coop Partnership) เป็นพันธกิจและภารกิจร่วมที่มี นโยบายและแผนงานที่ชัดเจนต่อเนื่อง
2. จัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาโดยถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรดำเนินการ เป็นระบบครบกระบวนการตามมาตรฐานสหกิจศึกษา และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
3. มีการกำหนดส่วนงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบการบริหารและการจัดการสหกิจศึกษาทั้งใน สถานศึกษาและสถานประกอบการ
4. สร้างความพร้อมในองค์กรที่จะจัดสหกิจศึกษาให้มีความพร้อมทุกด้านก่อนที่จะจัดสหกิจ ศึกษา
5. มีการติดตามประเมินผลการจัดสหกิจศึกษาคู่ขนานกับการจัด เพื่อนำผลมาใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาการจัดสหกิจศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่สถานศึกษาได้รับ
1. เกิดความร่วมมือทางวิชาการและความสัมพันธ์ที่ดีกับสถานประกอบการ
2. ได้ข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน
3. ช่วยให้สถาบันการศึกษาได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน

ประโยชน์ที่สถานประกอบการได้รับ
1. เกิดความร่วมมือทางวิชาการ และความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการศึกษา
2. เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กร ในด้านการส่งเสริมสนันสนุนการศึกษาและช่วยพัมนาบัณฑิตของชาติ
3. มีนักศึกษาที่มีความกระตือรือร้นและมีความพร้อมทางวิชาการระดับหนึ่งมาช่วยปฏิบัติงานที่มีประโยชน์กับสถานประกอบการตลอดทั้งปี
4. พนักงานประจำมีเวลามากขึ้นที่จะปฏิบัติกน้าที่อื่นที่มีความสำคัญมากกว่า
5. เป็นวิธีการช่วยคัดเลือกนักศึกษาเข้าเป็นพนักงานประจำในอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องมีการทดลองงานก่อน
6. สามารถนำไปลดหย่อนภาษีตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ได้

ประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับ
1. ได้รับประสบการณ์วิชาชีพตามสาขาวิชาที่เรียนเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการเรียนในห้องเรียน
2. เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบ และมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการ
3. ส่งผลให้มีผลการเรียนดีขึ้นภายหลังการปฏิบัติงาน เนื่องด้วยมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากขึ้นจากประสบการณ์การปฏิบัติงานจริง
4. เกิดทักษะการสื่อสารข้อมูล (Communication Skill)
5. ได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน
6. สามารถเลือกสายอาชีพได้ถูกต้องเนื่องจากได้รับทราบความถนัดของตนเองมากขึ้น
7. สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพในการทำงานที่มากกว่าและมีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนสำเร็จการศึกษา

เอกสารจาก : สมาคมสหกิจศึกษาไทย www.tace.or.th การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสหกิจศึกษา